วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Harddisk (ฮาร์ดดิส)


          ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว

                     ความหมายของ Hard disk




ความหมายของฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์คืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวฮาร์ดดิสก์จากภายนอกได้ ถ้าต้องการดูจำเป็นต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องออกจึงจะมองเห็น และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆดังนั้นความจุของตัวฮาร์ดดิสก์จึงเป็นส่วนสำคัญมากในการเลือกนำมาใช้งาน และโปรแกรมในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็น
 windows หรือโปรแกรมอื่นๆมักมีขนาดใหญ่จึงต้องเลือกตัวฮาร์ดดิสก์ที่มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB : Gigabyte)

ลักษณ์ของการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์มีศัพท์เฉพาะที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า อินเตอร์เฟส (Interfece) สามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ประเภท

1. IDE และ E-IDE
การเชื่อมต่อแบบ IDE (integrated Drive Electronics) เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า ที่มีข้อจำกัดรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้เพียงแค่528 เมกกะไบต์ ส่วน E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) คือพัฒนาการของ IDE นั่นเอง สามารถรองรับการเชื่อมต่อในระดับ กิกะไบต์ และปัจจุบันการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ มักนิยมใช้แบบ E-IDE

2. SCSI
การเชื่อมต่อแบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง นิยมใช้กับระบบเครือข่ายการและการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะต้องมีการ์ด SCSI ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คือถ้าหากว่าเราไม่มีฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ เวลาเปิดเครื่องเราต้องมานั่งเขียนโปรแกรมเป็นพันๆหมื่นๆบรรทัดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน พอเราปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ก็ต้องเขียนโปรแกรมนั้นอีกเพราะไม่มีตัวเก็บข้อมูลความจำนั้น ฮาร์ดดิสก์ก็คือตัวเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสะดวกในการใช้งานอีกด้วย



ประเภทของฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์ได้มีพัฒนาการในการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 3 รูปแบบคือ แบบ IDE ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นแบบ EIDE ( Enhanced  IDE) สำหรับเครื่องทั่วไป แบบ SCSI นิยมใช้ Server  และWorkstation  และ แบบ Serial ATA เป็นมาตรฐานใหม่ของฮาร์ดดิสก์  สำหรับเครื่อง PC ทั่วไปมีความเร็วสูงและมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่าเดิม

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (EIDE)

ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่าแบบ IDE ปัจจุบันเป็นแบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) ทั้งสิ้น โดยพัฒนาต่อจากแบบ IDE เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 528 MB ได้
ฮาร์ดดิสก์ในมาตรฐานนี้มีหลายความเร็วได้แก่ Ultra ATA (Ultra DMA)/33,/66,/100,/133ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล33,66,100,133, MB/s ตามลำดับฮาร์ดดิสก์แบบ ATA/33 จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายแพแบบ 40 เส้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ATA/66/100/133 จะเชื่อมต่อด้วยสายแพแบบ80 เส้นโดยปกติบนเมนบอร์ดจะมีช่องต่อ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 และ IDE2ซึ่งแต่ละช่องต่อจะติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกจะต้องกำหนดลำดับโดยจัมเปอร์เป็น “Master”และ“Slave” ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานฮาร์ดดิสก์นั้นได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
       
ย่อมาจาก Small Computer Interface เป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีความเร็วสูงสามารถรับส่งข้อมูลได้เกินกว่า 160 MB/s จะต้องใช้ร่วมกับตัวควบคุมที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสริมโดยในช่วงแรกใช้สายแพเชื่อมต่อกับการ์ดแบบ 50 เส้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน SCSI 2  และ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้สายแพสำหรับเชื่อมต่อซึ่งเป็นแบบ 68 เส้น
การ์ดเสริม (SCSI) นอกจากจะใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ได้แล้ว ยังสามารถใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์ SCSI อื่นๆได้อีกรวม 7-15 ตัว แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องใช้ร่วมกับการ์ดควบคุม (SCSI Card) จึงนิยมใช้งานเฉพาะกับเครื่อง Server สำหรับควบคุมเครือข่าย
ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA
        

ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เป็นอินเตอร์เฟสรูปแบบใหม่ที่ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (IDE ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบขนาน) จึงทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่าแบบ IDE โดย Serial ATA 1.0 สามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วสูงถึง 150MB/s และจะสูงถึง 300 และ 600 MB/s ใน SATA เวอร์ชั่น 2 และ 3 ต่อไป


ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ
         
                                                        



                  Harddisk IDE (PATA)                                                                           Harddisk  SATA
1.    IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
2.       SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
3.       E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
4.       SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร

ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง
แหล่งที่มา :  http://sukauya-technology-computer.blogspot.com/

RAM

ประเภทของแรม (RAM)











โดยทั่วไปสามารถแบ่ง RAM ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM(DRAM) โดยมีรายระ เอียดดังนี้

 1. Static RAM (SRAM)











ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กับ “ไม่มีไฟ” ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่

นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัว CPU เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาด ความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย

 
2. Dynamic RAM (DRAM)
















ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วน หนึ่งคอยทำหน้าที่ “เติมประจุ” ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh)

หน่วยความจำ ประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของ หน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความ จุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง

ชนิดของ Dynamic RAM (DRAM)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วย ความจำหลัก ของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

2.1 SDRAM (Synchronous Dynamic RAM)

SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มา
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

2.2 DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)
DDR SDRAM คือ หน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับ SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200 MHz ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูล เพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับ SDRAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา เพียงด้านเดียว
แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SDRAM ที่มีอยู่ 2 ที่ ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง

การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความ กว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณ นาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง
ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533) ไปจนถึง PC5600 (DDR-700)

2.3 DDR-II SDRAM
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่ง ยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมี จำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2- 400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900)
รุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมี รุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น

สำหรับ DRAM ชนิดนี้ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่นานจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่ สุด

2.4 RDAM (RAMBUS DRAN)

ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่อง บากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถ แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066 (1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น

นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(8 ไบต์) ที่ทำงานด้วย ความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

แหล่งที่มา : http://anurak-technology.blogspot.com/

จอภาพหรือมอนิเตอร์

จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor) CRT/LCD/LED คืออะไร

จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ  มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น  ภาพ  แสง  สี ตัวหนังสือ  ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้  และด้วยการแสดงผลที่ต้องมีคุณภาพจึงมีเทคโนโลยีต่างๆ  ที่พัฒนาขึ้นจากที่เคยเป็นจอขาวดำเหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็ได้เป็นสี  โดยทั่วไปแล้วจอภาพที่เราใช้อยู่มีหลายแบบ  ทั้ง CRT  LCD cและ LED ที่ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกันมีคุณภาพที่แตกต่างกัน

                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ crt

จอ CRT (Cathode Ray Tube)  เป็นจอรุ่นเก่ามากตั้งแต่เริ่มต้นเลย  เมื่อก่อนเราจะพบว่าเป็นขาวดำแต่ได้พัฒนามาเป็นสีสามารถที่จะเห็นรายละเอียดมากกว่าเดิม จอ CRT การทำงานเป็นเหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่าที่มีขนาดใหญ่  มีด้านหลังที่ยื่นออกไปเพราะว่าใช้การฉายแสงอิเล็กตรอนของหลอดภาพในการแสดงผล  และในการยิงแสงแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาจึงทำให้เราเห็นภาพไม่นิ่งอาจจะดูเหมือนสั่นตลอดเวลา  และทำให้ปวดตาในที่สุด  โดยแสงที่เกิดขึ้นจะเป็นสี  แดง  เขียว  และ  น้ำเงิน  เกิดจากการผสมสีสามสีเหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นสีต่างๆ  บนจอภาพให้เราเห็น  สำหรับความละเอียดภาพนั้นมีหน่วยเป็น  พิกเซล  คือเป็นจุดของการแสดงผลหากมีจำนวนมากก็จะทำให้ภาพเรามีความชัดเจนมาก  เนื่องจากการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดความร้อนและใช้พลังงานสูงมาก มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และยังมีรังสีแผกระจายออกมาได้  จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีมาใหม่  และยกเลิกการผลิตไปแล้ว  จึงไม่มีขายตามท้องตลาดหรือว่ามีเพียงแค่ของมือสองเท่านั้น

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ lcd


จอ LCD (Liquid Crystal Display)  มีการใช้เทคโนโลยีแทนการใช้หลอดภาพซึ่งเมื่อก่อนราคาสูงมากแต่ปัจจุบันราคาถูกกว่าเดิมจึงสามารถที่จะมาแทนจอรุ่นเก่าได้  ในยุกแรกๆเราอาจจะเห็นผลิตไว้สำหรับคอมพิวเตอร์แบบกพพาจำพวกโน๊คบุ๊คเท่านั้นหรือว่าเมือถือ การทำงานโดยใช้ผลึกของเหลวกึ่งของแข็งในการแสดงภาพและใช้หลอดไฟในการส่องแสงสว่างให้กับจอออกมาจึงทำให้เราเป็นภาพต่างๆ  และด้วนเห็นนี้จึงสามารถที่จะมองเห็นด้วยความละเอียดกว่า  แต่เนื่องจากมีข้อจำกัด  อย่าเช่นการมองไม่ถูกมุมอาจจะทำให้สีที่เราเห็นนั้นผิดไปและไม่ชัดในบางมุมด้วย และอาจจะแสดงผลที่ช้ากว่าจอ CRT จึงมีการระบุความเร็วในการแสดงผลไว้กับรายละเอียดการเลือกซื้อด้วย  ระยะเวลาในการใช้งานมีข้อจำกัดด้วย  แต่ด้วยไม่มีรังสี  ใช้ความร้อนและพลังงานน้อยกว่า  และมีเทคโนโลยีในการรองรับการทำงานแบบใหม่  สามารถที่จะดูหนังได้สมจริง มีขนาดที่เล็ก  จึงทำให้ได้รับความนิยม
                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพ led
จอ LED ที่ได้รับการพัฒนาต่อจาก LCD มีหลักการทำงานที่รูปแบบเดียวกันแต่ว่าใช้หลอด LED ที่เป็นหลดขนาดเล็กมาในการส่องแสงแทนการใช้หลอดไฟแบบ LCD จึงทำให้สามารถที่จะประหยัดไฟกว่าและความร้อนน้อยกว่า  และที่สำคัญสามารถที่จะสานต่อเทคโนโลยีได้มากกว่า  ปัจจุบันจึงมาแทนจอแบบ LCD มากกว่าจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจะใช้จอภาพที่ทำจาก LED มากกว่า  และสามารถที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อสัญญาณภาพแบบใหม่ที่ให้ความละเอียดสูง  และสามารถที่จะใช้งานในรูปแบบ 3 ได้ด้วย
           จะเห็นได้จอภาพเป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงผลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานและควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับงานเพราะว่ามีขนาดและความละเอียดที่แตกต่างกัน  และเทคโนโลยีจึงทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมและรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเดิม
เเหล่งที่มา : http://supaluk6145.blogspot.com/